ประวัติความเป็นมา

 

รองเง็ง หรือ รองเง็ง เป็นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิม ที่มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว รวมทั้งความสง่างามทางด้านแต่งกายที่เหมาะสมกลมกลืนกับความไพเราะอ่อนหวานของท่วงทำนองเพลงประวัติความเป็นมาของการแสดงรองเง็ง ยากที่จะระบุให้ชัดเจนลงไปว่าการแสดงรองเง็งเกิดขึ้นเมื่อใด จากการสอบถามจากผู้รู้และเอกสารต่าง ๆ เชื่อกันว่าศิลปะการแสดงรองเง็งมีมาไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้รับแบบอย่างมาจากศิลปะการแสดง ทั้งท่าเต้นและทำนองจากการแสดงพื้นเมืองของชาวตะวันตก คือ ชาวสเปนหรือโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อทำการค้าอาจารย์นิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “รองเง็ง” ของขุนจารุวิเศษศึกษากร ว่า รองเง็ง ไม่ใช่ภาษาในมาลายูและไม่ทราบว่าเป็นภาษาใด แต่สันนิษฐานว่าคงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง โดยกลองรำมะนาดัง ก็อง ก็อง และเสียงตีฆ้องเหล็กดัง เง็ง เง็ง ก็เลยเรียกการละเล่นนี้ว่า ก็องเง็ง
แต่คำว่าก็อง ในภาษามาลายูแปลว่าบ้า ๆ บอ ๆ ซึ่งมีความหมายไม่เป็นมงคลนัก จึงแกล้งออกเสียงให้เพี้ยนไปเป็นรองเง็ง ประกอบกับลิ้นชาวมาลายูไม่สันทัดในการออกเสียงแอ จึงออกเสียงเง็ง เป็น เง็ง ก็เลยมีการเรียกว่า “รองเง็ง” ด้วย

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ที่มาของรูปภาพ : ภูมิปัญญาในด้านศิลปการแสดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

: http://www.biogang.net/blog/blog_detail.php?uid=46546&id=1390. (23 มีานคม 2559).

ที่มาของเนื้อหา : รองเง็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/331-----m-s. (23 มีานคม 2559).